ทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจ (รอบที่ 1)

การขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อเป็นหลักฐานให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ใช้ประกอบการรับการช่วยเหลือจากรัฐบาล
         2. เพื่อให้ทราบจำนวนเกษตรกร เนื้อที่เพาะปลูก และประมาณการปริมาณผลผลิตของพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด
         3. เพื่อป้องกันมิให้มีการสวมสิทธิ์เกษตรกรและปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
      ประโยชน์ต่อภาครัฐ
           ภาครัฐได้ข้อมูลพื้นที่การปลูกพืชที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดและป้องกันการสวมสิทธิ์ของเกษตรกร

      ประโยชน์ต่อเกษตรกร
         
เกษตรกรได้ใบรับรองการขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเพื่อนำไปใช้ในการทำสัญญากับ ธกส. ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร

หลักเกณฑ์การรับขึ้นทะเบียน
        
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการรับขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจ
หลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2552/53และเพื่อให้การดำเนินงาน
ขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัดกุม และได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับ
ความเป็นจริง จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การรับขึ้นทะเบียน ดังนี้

       1. แบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ได้แก่
          
1.1 แบบ ทพศ. 1 เป็นแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53  
           1.2 แบบ ทพศ. 2 เป็นแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกมันสำปะหลัง ปี 2552/53   
           1.3 แบบ ทพศ. 3 เป็นแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2552/53  

       2. สถานที่รับขึ้นทะเบียน
          
2.1 สำนักงานเกษตรอำเภอ ให้มีการรับขึ้นทะเบียนในวันทำการ
           2.2 ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลให้กำหนดวันรับขึ้นทะเบียนใน
แต่ละศูนย์ ๆ ละ 2 วัน/สัปดาห์

       3. ระยะเวลาการรับขึ้นทะเบียน
          
กำหนดระยะเวลารับขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552
ถึงเดือนกันยายน 2552 แบ่งได้ดังนี้

มันสำปะหลัง
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 ถึงเดือนกันยายน 2552
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 ถึงเดือนกันยายน 2552
ข้าวนาปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 ถึงเดือนตุลาคม 2552
(ภาคใต้)  ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553

       4. เกษตรกรผู้มีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียน
          
4.1 เกษตรกรผู้มีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด (ทพศ.1-3) ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือน
หรือสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร ซึ่งเป็นเจ้าของผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยว โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นผู้เช่าที่ดินจากผู้อื่นหรือไม่
นอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (แบบ ทบก. 01) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว หากเกษตรกร
ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนเกษตรกร (แบบ ทบก. 01) มาก่อน ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร ก่อนยื่นคำร้อง
ขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด (ทพศ.1-3)
           4.2 เป็นหน้าที่ของเกษตรกรที่จะต้องยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด (ทพศ.1-3)
ทุกปี โดยให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียน ณ สถานที่รับขึ้นทะเบียนที่เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกในตำบลนั้น
           4.3 ใน 1 ครัวเรือนเกษตรกรให้มีตัวแทนมายื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด
(ทพศ.1-3) ได้ 1 คน ซึ่งอาจเป็นหัวหน้าครอบครัว แม่บ้าน หรือสมาชิกที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่บุคคลดังกล่าวจะต้อง
เดินทางมายื่นคำร้องด้วยตนเอง
           4.4 กรณีเกษตรกรเป็นญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ด้วยกันมากกว่า 1 ครัวเรือน และมีการแบ่งแยกพื้นที่ปลูก
เป็นสัดส่วนที่แน่นอน แต่ยังไม่แบ่งกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินทำกิน ให้แยกยื่นคำร้องเป็นรายครัวเรือนก็ได้

       5. การเตรียมการขึ้นทะเบียน
          
5.1 ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับทราบประกาศ ขั้นตอน และการเตรียมหลักฐานประกอบ
การยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนให้ครบถ้วน รวมทั้งการนัดหมายวัน เวลา และสถานที่ให้เกษตรกรทราบอย่างทั่วถึง
           5.2 ชี้แจงเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
           5.3 จัดทำแผนปฏิบัติงานในการรับขึ้นทะเบียน (ตามเอกสารการขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจ
หลัก 3 ชนิด หน้าที่ 6)

       6. ขั้นตอนและวิธีการขอขึ้นทะเบียน
          ขั้นตอนที่ 1 การรับคำร้อง ระยะเวลาดำเนินการ 1 วัน
          
(1) เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ที่ประสงค์ขอยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียน ต้องแจ้งข้อมูลที่เป็นจริง
ตามแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด (ทพศ.1-3) และต้องแสดงหลักฐานตัวจริง
พร้อมสำเนาประกอบคำร้องขอขึ้นทะเบียน ดังนี้
                1) บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ
                2) ทะเบียนบ้าน
                3) เอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และ/หรือเอกสารสิทธิ์ที่ทางราชการให้การรับรอง
และ/หรือเอกสารการเช่าที่ดิน
                4) หลักฐานการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2552 (ทบก.02) โดยเกษตรกรสามารถยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียน
เกษตรกร ณ ศบกต. /สนง.กษอ. ได้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 – 30 กันยายน 2552
           (2) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารและข้อมูลที่เกษตรกรกรอกตามแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียน
การปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด (ทพศ.1-3) จึงให้ เกษตรกรลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อรับรองความถูกต้อง
ของข้อมูลที่ได้แจ้งไว้ (กรณีเกษตรกรไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ทำการประทับลายนิ้วมือของเกษตรกรแทน)

          (3) ให้บุคคลที่เชื่อถือได้และเป็นผู้รู้ข้อมูลของเกษตรกรว่ามีพื้นที่ปลูกและผลผลิตพืชเศรษฐกิจ หลัก 3 ชนิด
ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาล ในเขตกรุงเทพมหานครให้ใช้เกษตรกร ที่เป็น
คณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ลงลายมือชื่อพร้อมตำแหน่งเป็นผู้รับรอง
ท้ายแบบขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ ผู้รับรองจะลงลายมือชื่อในแบบไว้ล่วงหน้าไม่ได้ จะต้องลงลายมือชื่อรับรองต่อหน้า
เจ้าหน้าที่  เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลในแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจ
หลัก 3 ชนิด (ทพศ.1-3) เรียบร้อยแล้วเท่านั้น
           (4) เจ้าหน้าที่ผู้รับขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด (ทพศ.1-3) ต้องเป็นข้าราชการ  หรือ
พนักงานราชการ  (ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร)   ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานการรับขึ้นทะเบียนและเป็น
ผู้มีอำนาจลงนามและตำแหน่งในช่องเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้ง ในการนี้ เจ้าหน้าที่จะลงลายมือชื่อในแบบไว้ล่วงหน้าไม่ได้
           (5) เจ้าหน้าที่จะต้องวางแผนกำหนดวันที่และสถานที่ที่จะปิดประกาศรายชื่อผู้ยื่นคำร้อง วันเวลาและสถานที่
ที่จะจัดเวทีประชาคมไว้ล่วงหน้า เพื่อใช้กรอกวันที่ประกาศผลการขึ้นทะเบียนในแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนส่วนที่ 1
และส่วนที่ 2

          (6) ฉีกเอกสาร ทพศ. 1-3 ส่วนที่ 2 มอบให้แก่เกษตรกรผู้ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเก็บรักษาไว้
้เพื่อเป็นหลักฐานการรับรองผลการขอขึ้นทะเบียนรายบุคคล เมื่อผ่านการตรวจสอบและประกาศผลการรับรอง
การขึ้นทะเบียนแล้ว
           (7) เมื่อเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียนผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิดแล้ว ให้เจ้าหน้าที่นำส่งแบบคำร้องขอ
ขึ้นทะเบียน(ทพศ. 1-3) ให้เกษตรอำเภอตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง จึงให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
ลงโปรแกรม
           (8) กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์สารสนเทศ จัดทำโปรแกรมลักษณะ web base application
สำหรับบันทึกและประมวลผล ให้ทุกอำเภอดำเนินการบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยสามารถเรียกใช้โปรแกรมจาก http://www.ecoplant.doae.go.th    โดยโปรแกรมดังกล่าวจะประมวลผลลักษณะ on line เจ้าหน้าที่ในระดับอำเภอ
สามารถบันทึก  และแก้ไขข้อมูลและเรียกรายงานรายชื่อผู้ยื่นคำร้อง โดย
                1) ให้ปิดประกาศ ณ ศบกต. และ สนง. กษอ. ที่รับคำร้องการขึ้นทะเบียน
                2) เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการตรวจสอบ

         ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ระยะเวลาดำเนินการ 10 วัน
           (1) การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบล
                1) กรณี ข้าวนาปี แต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติระดับจังหวัด ซึ่งมี
ีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
                2) กรณี มันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร
อันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด
                3) องค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบล ประกอบด้วย
                     3.1) ปลัด อบต. เป็นประธาน
                     3.2) กำนัน เป็นรองประธาน
                     3.3) ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ ธกส. เป็นคณะกรรมการและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
ประจำตำบลเป็นเลขานุการคณะกรรมการ
                     3.4) ให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
                     3.5) สำหรับกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทน ศบกต. เจ้าหน้าที่ ธกส.
ประธานคณะกรรมการชุมชนเกษตรหมู่บ้าน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลเป็นเลขานุการคณะกรรมการ
ส่วนประธานให้คณะกรรมการ เป็นผู้คัดเลือก และให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติมได้ตามเหมาะสม

          (2) หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบล มีดังนี้
                1) การตรวจสอบเอกสาร คณะกรรมการต้องทำการตรวจสอบเอกสารของเกษตรกรทุกรายที่มีรายชื่อ
บันทึกในระบบ จากข้อ (8) ประกอบกับเอกสารต่างๆ ดังนี้
                     1.1) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ใช้ตรวจสอบความมีตัวตนของเกษตรกร
                     1.2) สำเนาเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และ/หรือสำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ทางราชการ
ให้การรับรอง และ/หรือสำเนาเอกสารการเช่าที่ดิน ใช้ตรวจสอบความสัมพันธ์ของพื้นที่ถือครองกับพื้นที่ปลูกพืชที่แจ้ง
ไว้ในแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียน
                     1.3) แบบ ทบก. 01 ให้ตรวจสอบว่าได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้แล้ว และใช้ข้อมูลกิจกรรมและพื้นที่
เพาะปลูกพืชที่ได้แจ้งไว้ใน แบบ ทบก. 01 (ข้อ 5 และ 9)เทียบเคียงกับพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ได้แจ้งในแบบคำร้องขอ
ขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด
                     1.4) เอกสาร รอ. รต. และ รม. (ถ้ามี)
                     1.5) ข้อมูลทะเบียนลูกค้า ธกส.
                     1.6) หลักฐานอื่นๆ ตามความจำเป็น เช่น ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือข้อมูล
การเสียภาษีของอบต. หรือข้อมูลการปลูกพืชของจังหวัด เป็นต้น

               2) การจัดเวทีประชาคม เพื่อรับรองการปลูกพืชของเกษตรกรและการทำประชาคมจะต้องมีการรับรอง
โดยคณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบล จำนวน 5 คน ประกอบด้วย
                      1. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นประธาน
                      2. กำนัน
                      3. ผู้ใหญ่บ้าน
                      4. ธกส.
                      5. เกษตรตำบล เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการฯ
                          โดยให้นำข้อสังเกตหรือสิ่งผิดปกติจากการตรวจเอกสาร ประกอบกับข้อมูลของชุมชน เพื่อหา
ข้อสรุปจากชุมชนว่ามีการคัดค้านข้อมูลของเกษตรกรรายใดหรือไม่

               3) การตรวจสอบพื้นที่จริง ให้ดำเนินการ ดังนี้
                     3.1) ในรายที่มีการคัดค้าน คณะกรรมการต้องตรวจสอบพื้นที่จริงของผู้ถูกคัดค้านทุกราย
                     3.2) ในรายที่ไม่ถูกคัดค้าน ให้คณะกรรมการสุ่มตรวจพื้นที่จริง ร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ไม่ถูกคัดค้านทั้งหมด

        ขั้นตอนที่ 3 การออกใบทะเบียน ระยะเวลาดำเนินการ 3 วัน
          
(1) การติดประกาศผลการตรวจสอบ
                  หลังการตรวจสอบทุกขั้นตอนแล้ว พิมพ์รายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบ และรับรองว่าเป็น
เกษตรกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูกพืชชนิดนั้นๆ ปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ณ ศบกต. และ สนง. กษอ.
ที่รับคำร้องการขึ้นทะเบียน โดยในแบบประกาศผลการรับรองการขึ้นทะเบียน (แบบ ทพศ.1/2 หรือ ทพศ.2/2
หรือ ทพศ.3/2) จะต้องลงลายมือชื่อของคณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบล กำกับในประกาศทุกหน้า
           (2) การขอเอกสารรับรองเพื่อเข้าร่วมโครงการ
                หากเกษตรกรที่ผ่านการรับรองจากข้อ (1) และประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการความช่วยเหลือของรัฐบาล
สามารถขอรับรายงานผลการรับรองการขึ้นทะเบียน (แบบ ทพศ.1/2 หรือ ทพศ.2/2 หรือ ทพศ.3/2)
ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ซึ่งต้องมีลายมือชื่อของเกษตรอำเภอหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการตรวจสอบ
ระดับตำบลให้เป็นนายทะเบียนลงนามในรายงาน

       7. มาตรการลงโทษ
           
หากตรวจสอบพบว่า ข้อมูลในแบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด (ทพศ.1-3)
มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นเท็จ ให้รายงานเกษตรจังหวัดทราบ กรณีข้าวให้แจ้งคณะอนุกรรมการข้าวแห่งชาติระดับจังหวัด ส่วนพืช
อื่นๆ ให้แจ้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด พิจารณามาตรการ
ลงโทษตามสมควร เช่น ตัดสิทธิ์การขอรับความช่วยเหลือจากรัฐ และ/หรือแจ้งความ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

       8. การแก้ไขปัญหาการรับคำร้องขอขึ้นทะเบียน
          
8.1 กรณีที่ประสบปัญหาในการปฏิบัติงาน และไม่สามารถแก้ไขปัญหาโดยเจ้าหน้าที่เกษตรระดับอำเภอ
หรือระดับจังหวัดได้ ให้นำปัญหาดังกล่าวเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมส่งเสริมการเกษตรพิจารณาแก้ไขต่อไป
           8 .2 หากมีปัญหาในการปฏิบัติงานและการประสานงาน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของกรมส่งเสริม
การเกษตร ดังนี้
                  1 ) สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร e-mail : agriman31@doae.go.th หรือ agriman33@doae.go.th
                       1.1 ศูนย์ปฏิบัติการโครงการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตร โทร. 0-2579-6635
                       1.2 กลุ่มส่งเสริมการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรม โทร. 0-2940-6124
                       1.3 กลุ่มส่งเสริมการผลิตพืชเส้นใยและพืชหัว โทร. 0-2561-4765
                       1.4 ส่วนส่งเสริมการผลิตข้าว โทร. 0-2940-6100
                 2 ) ศูนย์สารสนเทศ กลุ่มวิเคราะห์และวางระบบข้อมูล โทร. 0-2579-3926
                      e-mail :ict22@doae.go.th

                 แผนผังการขึ้นทะเบียน  

 การส่งมอบข้อมูลระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและธกส.

   

 

         รายงานความก้าวหน้าการขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด

ทะเบียนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2552/53
( ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553  เวลา 08.00 น. )

รายจังหวัด

จังหวัด

จำนวน
ราย

จำนวน
แปลง

พื้นที่
(ไร่)

ผลผลิต
(กก.)

ผ่านประชาคม

%
การผ่าน
ประชาคม

จำนวน
(ราย)
จำนวน
(แปลง)
พื้นที่
(ไร่)
ผลผลิต
(กก.)

สมุทรปราการ :

15

1

10

10,000

0

0

0

0

0.00

ชลบุรี :

100

91

1,272

893,920

84

88

1,189

761,920

84.00

ระยอง :

11

4

220

128,000

4

4

220

128,000

36.36

จันทบุรี :

1,574

1,720

37,947

32,644,940

1,569

1,697

37,689

32,410,440

99.68

ตราด : 
00
00
0
00
0
0
0
00
00.00

ฉะเชิงเทรา :

336

369

7,026

6,290,770

320

337

6,308

5,734,470

95.24

ปราจีนบุรี :

1,133

1,300

24,973

21,514,965

1,120

1,269

24,473

21,131,260

98.85

นครนายก :

11

9

115

105,800

8

9

115

105,800

72.73

สระแก้ว :

8,496

9,946

176,140

151,477,842

8,308

9,709

160,918

148,696,172

97.79

รวม
9 จังหวัด

11,676

13,458

247,703

213,066,237

11,413

13,113

230,912

208,968,062

97.75

 

      ทะเบียนการปลูกมันสำปะหลัง ปี 2552/5
( ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553  เวลา 08.00 น.
รายจังหวัด

จังหวัด


จำนวน
ราย


จำนวน
แปลง


พื้นที่
(ไร่)


ผลผลิต
(กก.)

ผ่านประชาคม

%
การผ่าน
ประชาคม

จำนวน
(ราย)
จำนวน
(แปลง)
พื้นที่
( ไร่)
ผลผลิต
(กก.)

สมุทรปราการ :

25

3

90

313,000

2

2

43

172,000

8.00

ชลบุรี :

4,857

5,860

168,986

768,298,609

4,850

5,814

167,073

761,166,109

99.86

ระยอง :

2,286

2,892

63,939

272,177,458

2,137

2,792

62,392

266,037,458

93.48

จันทบุรี :

6,645

8,045

190,958

799,431,776

6,419

7,634

184,470

773,453,526

96.60

ตร0าด :

67

32

629

1,991,000

26

26

377

1,366,200

38.81

ฉะเชิงเทรา :

6,543

7,664

189,712

782,540,464

6,657

7,606

188,068

775,810,264

101.74

ปราจีนบุรี :

8,051

9,395

218,049

901,352,060

7,418

8,676

203,207

842,478,260

92.14

นครนายก :

23

18

303

1,138,400

11

14

242

1,058,400

47.83

สระแก้ว :

15,994

17,988

508,593

1,417,914,648

15,803

17,988

508,593

1,417,914,648

98.81

รวม
9 จังหวัด

44,497

51,897

1,341,259

4,945,157,415

43,323

50,552

1,314,465

4,839,456,865

97.37

          

         ทะเบียนการปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53
( ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553  เวลา 08.00 น. )
รายจังหวัด

จังหวัด

จำนวน
ราย

จำนวน
แปลง


พื้นที่
( ไร่)

ผลผลิต
(กก.)

ผ่านประชาคม

%
การผ่าน
ประชาคม

จำนวน
(ราย)
จำนวน
(แปลง)
พื้นที่
(ไร่)
ผลผลิต
(กก.)

สมุทรปราการ :

1,233

1,904

48,185

47,712,091

1,169

1,897

48,028

47,564,391

94.81

ชลบุรี :

3,586

4,176

61,661

33,722,466

3,281

3,823

57,430

31,298,426

91.49

ระยอง :

1,245

1,676

14,687

8,812,350

972

1,412

12,670

7,802,795

78.07

จันทบุรี :

1,468

2,144

17,183

7,442,416

1,404

2,064

16,724

7,277,730

95.64

ตราด :

1,195

1,616

16,761

8,712,480

1,139

1,549

16,108

8,385,070

95.31

ฉะเชิงเทรา :

24,438

31,486

671,841

534,147,538

22,188

28,783

628,526

507,664,044

90.79

ปราจีนบุรี :

15,998

21,683

424,705

214,757,474

15,203

20,816

409,995

207,044,983

95.03

นครนายก :

10,304

15,419

360,631

232,318,962

10,542

15,409

360,143

231,879,024

102.31

สระแก้ว :

26,145

33,215

643,990

244,703,110

26,183

33,213

643,975

244,697,110

100.15

รวม
9 จังหวัด

85,612

113,319

2,259,644

1,322,328,887

82,081

108,966

2,193,599

1,293,613,573

95.88

              

     ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการการขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด
            -
แนวทางการรับแจ้งขอขึ้นทะเบียน บันทึกและประมวลผลข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก  
               (ข้าว มันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์)
               ( ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร สิงหาคม 2552)                              

 
จัดทำข้อมูล  :  สราวุฒิ
รายงาน  :  ภัทรลภา
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553