โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔ / ๕๕


๑ . ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔ / ๕๕ ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔ / ๕๕
ณ ความชื้นไม่เกิน ๑๕ % ดังนี้

๑ . ๑ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ( ๔๒ กรัม ) ตันละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๑ . ๒ ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ( ๔๐ กรัม ) ตันละ ๑๘,๐๐๐ บาท
( ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ๒๓ จังหวัด )
๑ . ๓ ข้าวเปลือกปทุมธานี ( ๔๒ กรัม ) ตันละ ๑๖,๐๐๐ บาท
๑ . ๔ ข้าวเปลือกเหนียว ๑๐ % เมล็ดยาว ตันละ ๑๖,๐๐๐ บาท
ข้าวเปลือกเหนียว ๑๐ % เมล็ดสั้น ตันละ ๑๕,๐๐๐ บาท
๑ . ๕ ข้าวเปลือกเจ้า ๑๐๐ % ตันละ ๑๕,๐๐๐ บาท
ข้าวเปลือกเจ้า ๕ % ตันละ ๑๔,๘๐๐ บาท
ข้าวเปลือกเจ้า ๑๐ % ตันละ ๑๔,๖๐๐ บาท
ข้าวเปลือกเจ้า ๑๕ % ตันละ ๑๔,๒๐๐ บาท
ข้าวเปลือกเจ้า ๒๕ % ตันละ ๑๓,๘๐๐ บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม - ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ ๒๐๐ บาท

๒. เป้าหมายการรับจำนำ

ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัด จำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือก ที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต ๒๕๕๔ / ๕๕ และต้องมี หนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกร
ลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

๓. ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ( ภาคใต้ ๑ กุมภาพันธ์ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ) ระยะเวลาไถ่ถอน ๔ เดือน
นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕

๔. วิธีการรับจำนำ

ให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมจังหวัด และข้าวเปลือกปทุมธานี เฉพาะใบประทวน เท่านั้น โดยให้ อคส. และ อ.ต.ก.รับสมัครโรงสี / ตลาดกลางเข้าร่วม
โครงการเป็นจุดรับฝากข้าวเปลือกและจ่ายใบประทวนให้เกษตรกรที่นาข้าวเปลือกมาจำนำ เพื่อให้เกษตรกรนาใบประทวนไปจำนำ กับ ธ.ก.ส.และ ธ.ก.ส.
ต้องจ่ายเงินให้เกษตรกร ภายใน ๓ วันทำการ โดยให้โรงสีที่รับฝากข้าวเปลือกไว้ดำเนินการสีแปรสภาพข้าวเปลือก เป็นข้าวสารส่งมอบเข้าโกดังกลาง ตามหลักเกณฑ์
และมติของคณะอนุกรรมการ กำกับดูแล การรับจำนำข้าว สำหรับตลาดกลางที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้เก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในโกดังที่ อคส./อ.ต.ก. กำหนดเป็นโกดังกลาง
ในกรณีการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียว ให้รับจำนำใบประทวนเท่านั้นแต่อาจพิจารณาให้มีการรับจำนำยุ้งฉาง เฉพาะในพื้นที่ที่มียุ้งฉาง
เก็บรักษาและมีการดูแลได้มาตรฐาน โดยในอดีตไม่เคยมีปัญหาสร้างความเสียหายให้ภาครัฐเท่านั้น ตามหลักเกณฑ์และมติของ คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าว

๕. หลักเกณฑ์การรับจำนำ

๕ . ๑ เกษตรกรผู้มีสิทธิจำนำ จะต้อง

( ๑ ) มีหนังสือรับรองเกษตรกรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

( ๒ ) เป็นลูกค้าธ.ก.ส.

๕ . ๒ การจำนำข้ามเขตของเกษตรกร เกษตรกรจะสามารถจำนำข้าวเปลือกได้ในพื้นที่จังหวัดของตนเท่านั้น ยกเว้นพื้นที่ตำบลติดต่อกัน กรณีจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนจะจำนำข้ามเขตเกินกว่าระดับตำบล ให้คณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด พิจารณาอนุมัติ และแจ้งฝ่ายเลขานุการกขช .
ทราบต่อไป

๕ . ๓ การจำนำข้ามเขตของโรงสีและตลาดกลาง ห้ามโรงสี / ตลาดกลางรับจำนำข้ามเขตและเปิดจุดรับจำนำนอกพื้นที่ ยกเว้นกรณีจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของเกษตรกร หรือกรณีที่บางจังหวัดมีโรงสีหรือตลาดกลางเข้าร่วมโครงการรับจำนำน้อย ไม่เพียงพอให้บริการเกษตรกร ให้คณะอนุกรรมการ
ระดับจังหวัดเปิดจุดรับจำนำนอกพื้นที่ได้ในจังหวัดเดียวกัน ทั้งนี้ กรณีที่ไม่สามารถจัดหาโรงสีหรือตลาดกลางภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกันได้ ให้แจ้ง อคส ./อ.ต.ก.
และฝ่ายเลขานุการ กขช เพื่อจัดหาโรงสีนอกพื้นที่จังหวัด โดยมีหลักการว่าให้จัดหาโรงสีภายในภาคเดียวกันก่อนเป็นลำดับแรก หากไม่สามารถจัดหาได้ให้จัดหาโรงสี
จากภาคอื่นเป็นลำดับต่อไป โดยให้นาเสนอคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าวพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการ และเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธาน กขช.เพื่อทราบต่อไป

๕ . ๔ การเข้าร่วมโครงการของโรงสีและตลาดกลาง

( ๑ ) โรงสี / ตลาดกลางที่จะเข้าร่วมโครงการต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด และแจ้ง อคส ./อ.ต.ก. พิจารณาอนุมัติ แล้วให้ อคส . และ อ.ต.ก.แจ้งให้ฝ่ายเลขานุการ กขช .ทราบในทันที ( ยกเว้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ อคส ./ อ.ต.ก.พิจารณาคัดเลือกและอนุมัติโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ )

( ๒ ) โรงสีที่เข้าร่วมโครงการจะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรได้ไม่เกิน ๓๐ เท่าของกาลังการผลิต

( ๓ ) การวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน เห็นชอบให้โรงสี / ตลาดกลางจะต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันร้อยละ ๕๐ – ๘๐ ของมูลค่าข้าวที่เข้าร่วมโครงการเพื่อป้องกัน
ความเสียหาย ของรัฐบาล โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าวเป็นผู้พิจารณาอัตราการค้ำประกันที่เหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ กรณีรับจำนำข้ามเขตจะต้องวางค้ำประกัน ร้อยละ ๑๐๐ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าวเป็นผู้พิจารณา ความเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ โรงสี / ตลาดกลางที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้ในโกดังของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ และดูแลรักษา พร้อมทั้งรับผิดชอบคุณภาพ
ข้าวเปลือกดังกล่าวเช่นเดียวกับผู้ประกอบการดูแลรักษาคุณภาพสินค้าในทางการค้าปกติของตนเอง โดยตลาดกลางจะได้รับค่าฝากเก็บและค่ารักษาคุณภาพข้าวเปลือก
ที่จำนำ ตันละ ๕๕ บาท / เดือน ส่วนโรงสีจะได้รับค่าฝากเก็บ และค่ารักษาคุณภาพข้าวเปลือ กที่จำนำ ตันละ ๕๕ บาท / เดือน เมื่อจัดเก็บข้าวเปลือกไว้เกิน ๙๐ วัน
โดยให้ อคส ./อ.ต.ก.หักลดน้าหนักข้าวเปลือกหรือข้าวสารเมื่อมีการส่งมอบ

๕ . ๕ การสีแปรสภาพ ให้โรงสีสีแปรสภาพข้าวเปลือกที่ฝากเก็บไว้ที่โรงสี ดังนี้

( ๑ ) ข้าวเปลือกเจ้าทุก ๑๐ วันในอัตราร้อยละ ๑๐๐ ของปริมาณข้าวเปลือกที่จำนำ ณ วันที่สั่งสีแปรสภาพ ส่วนข้าวเปลือกชนิดอื่นสั่งสีเป็นระยะ ตามความเหมาะสม หรือ

( ๒ ) ให้สีแปรสภาพตามมติคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าวที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์

๕ . ๖ การเก็บรักษาข้าวสาร อคส ./อ.ต.ก.จะต้องจัดให้มีโกดังกลาง / ไซโลจัดเก็บข้าวสารอย่างเพียงพอ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจาโกดังกลาง / ไซโล และกำกับดูแลการรับมอบและการเก็บรักษาข้าวสารให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง รวมทั้งจัดให้มีเซอร์เวเยอร์ที่ได้มาตรฐานตามที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนด
เป็นผู้ทำการตรวจสอบคุณภาพข้าวสารก่อนเข้าเก็บในโกดังกลางและ จะต้องติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด บันทึกภาพบริเวณโกดังกลางอย่างน้อย ๓ จุด คือ

( ๑ ) จุดส่งมอบข้าวสารเข้าโกดังกลาง / ไซโล และการขนย้ายข้าวสารออกจากโกดังกลาง

( ๒ ) และ ( ๓ ) จุดภายในโกดังกลางทั้งด้านหน้าและหลัง เพื่อให้สามารถบันทึกภาพการเคลื่อนไหวของการขนย้ายข้าวสารได้ชัดเจน รวมทั้งให้เชื่อมโยงภาพกิจกรรมมายังศูนย์ Operation Room ของฝ่ายเลขานุการ กขช . ด้วย

๕ . ๗ การระบายข้าว คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ทำหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์ ปริมาณ ราคา วิธีการและเงื่อนไขใน การจำหน่ายข้าวสาร
ในโกดังกลาง / ไซโลที่แปรสภาพจากข้าวเปลือกโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล รวมทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารอื่นๆ ที่คงเหลือของรัฐบาล กำกับดูแลแก้ไขปัญหา
ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการระบายข้าวดังกล่าว พิจารณากำหนดวิธีการระบายข้าวได้ตามความจำเป็น รวมทั้งการระบายจำหน่ายข้าวสาร
( ทั้งจำหน่ายทั่วไปและผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ) ทั้งนี้ การจัดทาแผนการระบายข้าว ให้คำนึงถึงผลกระทบต่อราคาตลาดข้าวในประเทศเป็นสำคัญ

๕ . ๘ การกำกับดูแล

( ๑ ) ณ จุดรับจำนำ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด อคส ./อ.ก.ต. ในฐานะหน่วยปฏิบัติกำกับดูแลการรับจำนำ จัดให้มีการเปิดจุดรับจำนำ
ให้เพียงพอบริการเกษตรกร และเข้มงวดกวดขัน รวมทั้งวางระบบการตรวจสอบการรับจำนำ โดยกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบใน แต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน และจัดให้มีผู้ช่วยปฏิบัติงานของ อคส ./อ.ก.ต.จุดละ ๒ คน ตัวแทนเกษตรกร จุดละ ๑ คน และข้าราชการที่จังหวัดแต่งตั้ง จุดละ ๑ คน

( ๒ ) ส่วนภูมิภาค ให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ กระทรวงพาณิชย์ ์
วางระบบการรับจำนำ การกำกับดูแล การประชุมชี้แจง และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งแก้ไขปัญหาในการรับจำนำในพื้นที่ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

( ๓ ) ส่วนกลาง ฝ่ายเลขานุการ กขช . กำหนดแนวทางปฏิบัติและกำกับดูแล และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดเขตติดต่อชายแดนเพื่อป้องกันการลักลอบ
นาข้าวเปลือกจากประเทศเพื่อนบ้านมาเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การวัดความชื้นข้าวเปลือกและสิ่งเจือปน เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรม

( ๔ ) กระทรวงมหาดไทย กำกับดูแลการทำงานของคณะอนุกรรมการระดับจังหวัดอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะการออกหนังสือรับรองเกษตรกรการให้บริการเกษตรกร
ณ จุดรับจำนำ และการเก็บรักษาข้าวเปลือกของโรงสี และการเก็บรักษาข้าวสารในโกดังกลาง

( ๕ ) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำกับดูแลการออกหนังสือรับรองเกษตรกรโดยออกหนังสือรับรองให้เป็นของเกษตรกรตรงตามข้อเท็จจริงทั้งรายชื่อเกษตรกร
พื้นที่เพาะปลูก ชนิดและปริมาณข้าวโดยให้กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการออกหนังสือรับรองที่ชัดเจน

( ๖ ) คณะทำงานหรือหน่วยงานปฏิบัติการพิเศษ ประกอบด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานและตรวจสอบในการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
ปีการผลิต ๒๕๕๔ / ๕๕ โดยกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีจุดรับจำนำและโกดังกลาง

๖. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี ๒๕๕๔ / ๕๕

ค่าใช้จ่ายการดำเนินการตามโครงการของหน่วยปฏิบัติหลัก ได้แก่ ธ.ก.ส. อคส. อ.ต.ก. กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการค้าภายในในฐานะฝ่ายเลขานุการ กขช.
รวมทั้งสิ้น ๔๓๕,๕๔๗.๖๔๗ ล้านบาทแยกเป็น วงเงินหมุนเวียนที่ใช้ในการรับจำนำ จำนวน ๔๑๐,๐๐๐.๐๐๐ ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด
จำนวน ๒๕,๕๔๗.๖๔๗ ล้านบาท

การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน ๖ คณะ เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติเป็นไปด้วยความราบรื่น คล่องตัว และมีการกำกับดูแลที่รอบคอบรัดกุม ดังนี้

๑ . คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิต โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานอนุกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานอนุกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ( นายราเชนทร์ พจนสุนทร ) อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนศูนย์ข้าวชุมชน ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมชาวนาไทย ผู้แทนสมาคมส่งเสริมชาวนาไทย ผู้แทนคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย ผู้แทนสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมโรงสีข้าวไทย เป็นอนุกรรมการ อธิบดีกรมการข้าว เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และรองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทำหน้าที่ เสนอแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตข้าวการส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกรชาวนา และเสนอแนวทางการพัฒนาส่งเสริม
และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มของข้าว รวมทั้งเสนอแนวทาง ในการส่งเสริมการศึกษาวิจัยการผลิตข้าวที่เหมาะสมต่อ กขช .

๒. คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาด โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( นายภูมิ สาระผล ) เป็นประธานอนุกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( พ.ต.น.พ.ดร. วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ ) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมค้าข้าวไทย
ผู้แทนสมาคมโรงสีข้าวไทย ผู้แทนสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมชาวนาไทย ผู้แทนสมาคมส่งเสริมชาวนาไทย เป็นอนุกรรมการ อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้อานวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทำหน้าที่ เสนอแผนงาน โครงการ มาตรการ และแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการตลาดข้าวที่เหมาะสม ต่อ กขช . เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดผลดี
ต่อระบบการค้าข้าวโดยรวม และเสนอแนวทางส่งเสริมการศึกษาวิจัยการตลาดข้าวที่เหมาะสม ต่อ กขช .

๓. คณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานอนุกรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพาณิชย์จังหวัด เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ผู้แทนกรมการข้าวในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ผู้แทนศูนย์ข้าวชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อานวยการ ธ.ก.ส. จังหวัด ผู้แทนสมาคมโรงสีข้าวหรือผู้แทนชมรมโรงสีข้าวหรือผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในจังหวัด หรือผู้แทนกลุ่มเกษตรกรในจังหวัด ผู้แทนสมาคมชาวนาไทยและ / หรือผู้แทนสมาคมส่งเสริมชาวนาไทยในจังหวัด
ผู้แทนสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยในจังหวัด ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ / ผู้แทนที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องข้าว เป็นอนุกรรมการ ปลัดจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ จ่าจังหวัด การค้าภายในจังหวัดและหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัด เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทำหน้าที่ พิจารณาวางระบบการรับจำนำ การประชาสัมพันธ์ การประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการรับจำนำการออกหนังสือรับรองเกษตรกร การรับรองโรงสี / โกดังกลาง การกำกับดูแลการรับจำนำที่โรงสี / ตลาดกลางการจัดสรรใบประทวนให้แก่โรงสี / ตลาดกลางที่เข้าร่วมโครงการ ในจังหวัด การตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือโรงสี / ตลาดกลางก่อนรับมอบข้าวเปลือกจำนำ การตรวจสอบโกดังกลางก่อนรับมอบข้าวสาร และการตรวจสอบปริมาณข้าวสารคงเหลือที่โกดังกลาง จนถึงการระบายข้าวเปลือก กำกับดูแลและแก้ไขปัญหาการรับจำนำในพื้นที่ให้เป็นไป ด้วยความรวดเร็ว รัดกุม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งป้องกันการสวมสิทธิและการปลอมปนข้าว
เพื่อให้ประโยชน์ตกแก่เกษตรกรอย่างแท้จริง และเสนอแนะแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าว และผู้ส่งออกของจังหวัด เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและเกิดประโยชน์ต่อระบบการผลิต และการค้าข้าวของจังหวัด

๔. คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าว โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( นายภูมิ สาระผล ) เป็นประธานอนุกรรมการ อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( พ.ต.น.พ.ดร.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ ) ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตรผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมการข้าว ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นอนุกรรมการ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้อานวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
กรมการค้าภายใน เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทำหน้าที่ พิจารณาสั่งสีแปรสภาพข้าวเปลือก กำหนดอัตราการแปรสภาพข้าวเปลือกที่รับจำนำเป็นข้าวสาร และอัตราการส่งมอบข้าวสารที่ได้จากการแปรสภาพ
จากข้าวเปลือกที่รับจำนำ เพื่อส่งมอบเข้าโกดังกลางและไซโล รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการไถ่ถอนข้าวเปลือกตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล และพิจารณากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและกำกับดูแลการรับจำนำข้าวเปลือกตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล และให้คณะอนุกรรมการนำเสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธาน กขช . พิจารณาอนุมัติและรายงานผลการดำเนินงานต่อ กขช . ทราบต่อไป

๕. คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( นายภูมิ สาระผล ) เป็นประธานอนุกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( พ.ต.น.พ.ดร. วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ ) ผู้แทนกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนคณะกรรมการองค์การคลังสินค้าที่คณะกรรมการองค์การคลังสินค้ามอบหมาย ผู้อานวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นอนุกรรมการ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักบริหาร
การค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

ทำหน้าที่ พิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการ ชนิด ปริมาณ และเงื่อนไขการจำหน่ายข้าวสารในโกดังกลางที่แปรสภาพจากข้าวเปลือกโครงการรับจำนำข้าว ของรัฐบาล
รวมทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารอื่นๆ ที่คงเหลือของรัฐบาล ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อตลาดโดยรวม ตลอดจนกำกับดูแลแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติ
เกี่ยวกับการระบายข้าวดังกล่าว และพิจารณากำหนดวิธีการระบายข้าวได้ตามความจาเป็น รวมทั้งการระบายจำหน่ายข้าวสารในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) โดยเป็นไปตามแผนการระบายข้าว และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อราคาตลาด โดยใช้ระบบการส่งออกเป็นสาคัญ

๖. คณะอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการรับจำนำข้าว โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( นายภูมิ สาระผล ) เป็นประธานอนุกรรมการ
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นรองประธานอนุกรรมการ จเรตำรวจแห่งชาติ ( พล.ต.อ. สถาพร หลาวทอง ) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศหัวหน้าผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองอธิบดีสอบสวนคดีพิเศษ ( พ.ต.อ.ดร . ณรัชต์ เศวตนันทน์ ) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
( พ.ต.นพ.ดร. วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ ) พล.ต.ต.ดร . พิศาล มุขแจ้ง นายพิทักษ์พงษ์ น้อยพิทักษ์ ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เป็นอนุกรรมการ อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้อานวยการสำนักตรวจสอบและปฏิบัติการ เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทำหน้าที่ ติดตามและตรวจสอบทุกขั้นตอนของกระบวนการการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการรับจำนำ เพื่อให้การดำเนิน
โครงการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้อย่างรอบคอบ โปร่งใส เป็นธรรมและเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างแท้จริง พร้อมทั้งตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม
การทุจริตในการรับจำนำข้าวเปลือกและการเก็บรักษาข้าวสารในโรงสีและโกดังกลางให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การอนุมัติข้าวสารเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย

อนุมัติจำหน่ายข้าวสาร ๕ % โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี ๒๕๕๒ โดยใช้ข้าวในโกดังกลางของ อคส . และ อ.ต.ก . หน่วยงานละ ๓๐,๐๐๐ ตัน
ในราคาตันละ ๑ บาท เพื่อนำไปบรรจุถุงชนิด ๔ กิโลกรัมรวมจำนวน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ ถุง เพื่อนำไปจัดสรรและจัดส่งให้แก่ผู้ประสบสาธารณภัยในจังหวัดต่างๆ ตามความจาเป็นและเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติไว้ และนำไปช่วยเหลือประชาชน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ในกรณีที่ประสบปัญหาที่ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษโดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายในการบรรจุถุงและค่าขนส่งตามที่เกิดขึ้นจริงตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( นายภูมิ สาระผล ) เป็นผู้พิจารณาสั่งการบรรจุ การปรับปรุง และอนุมัติการจัดสรรข้าวดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ปริมาณข้าวคงเหลือของรัฐบาล

๑. รับทราบรายงานปริมาณข้าวคงเหลือของรัฐบาลของ อคส . และ อ.ต.ก. ซึ่งหักภาระผูกพัน
ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ดังนี้

๑ . ๑ ข้าวสารในคลังกลาง ที่สีแปรสภาพจากข้าวเปลือกตามโครงการแทรกแซงของรัฐบาล ( ข้าวเปลือกนาปี ๒๕๔๘ / ๔๙ – ๒๕๕๒ / ๕๓
และนาปรัง ปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๒ ) รวมปริมาณ ๒,๑๘๙,๐๑๕.๖๗ ตัน ( อคส. ๑,๔๔๖,๘๐๕.๖๓ ตัน และ อ.ต.ก. ๗๔๒,๒๑๐.๐๔ ตัน ) จำแนกเป็นข้าวหอมมะลิ
จำนวน ๒๘,๙๘๖.๘๕ ตัน ( เป็นของ อคส. ทั้งหมด ) ข้าวหอมจังหวัด จำนวน ๗๑,๗๙๙.๑๐ ตัน ( เป็นของ อคส. ๔๕,๕๑๓.๖๐ ตัน และอ.ต.ก. ๒๖,๒๘๕.๔๙ ตัน ) ข้าวปทุมธานี จำนวน ๒๖๙,๑๙๕.๓๗ ตัน ( เป็นของ อคส. ๑๓,๑๔๓.๐๓ ตัน และอ.ต.ก. ๒๕๖,๐๕๒.๓๔ ตัน ) ข้าวขาว ๕ % จำนวน ๑,๗๓๖,๗๑๒.๒๒ ตัน
( เป็นของ อคส. ๑,๒๕๓,๒๒๘.๔๒ ตันและ อ.ต.ก. ๔๘๓,๔๘๓.๘๐ ตัน ) ข้าวขาว ๑๐ % จำนวน ๑๐,๐๐๗.๔๕ ตัน ข้าวขาว ๑๕ % จำนวน ๕,๔๖๗.๒๑
ตันข้าวขาว ๒๕ % จำนวน ๒๔,๖๗๑.๔๔ ตัน และข้าวเหนียว ๑๐ % จำนวน ๔๒,๑๗๖.๐๔ ตัน ( เป็นของ อคส . ทั้งหมด )

๑ . ๒ ข้าวเปลือกในยุ้งฉางกลาง ที่ขนย้ายจากยุ้งฉางเกษตรกรตามโครงการรับฝากข้าวเปลือกของ ธ.ก.ส. ปี ๒๕๕๒ / ๕๓ รวมทั้งสิ้น ๕๗,๖๕๐.๙๓ ตัน เป็นข้าวเปลือกหอมมะลิ ๕๗,๓๘๒.๔๓ ตัน และข้าวเปลือกเจ้า ๒๖๘.๕๐ ตัน

๒. มอบหมายให้ อคส. และ อ.ต.ก. จัดทารายละเอียดปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือดังกล่าว โดยแยกปริมาณข้าวคุณภาพดีและข้าวคุณภาพเสื่อมออกจากกันให้ชัดเจน และมอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวพิจารณาดำเนินการระบายต่อไป

    ที่มา : กรมการค้าภายใน