โครงการประกันรายได้เกษตรกร

                นโยบายรัฐบาลและแผนบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกร
            1.  นโยบายเร่งด่วน

                   •  รักษาเสถียรภาพราราสินค้าเกษตร/ระบบประกันภัยความเสี่ยง
                   •  จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ
               2.  นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ(ภาคเกษตร)
              
•  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและระบบโลจิสติกส์
                   •  ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
                   •  สร้างความมั่นคงด้านอาหาร
                   •  เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำ
              3.  นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               
    •  คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
                   •  จัดให้มีระบบป้องกัน/เตือนภัย/บรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ
                   •  การปรับตัวเพื่อพร้อมรับกับวิกฤติโลกร้อน
                   •  เร่งรัดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                   •  ควบคุมและลดปริมาณของเสียสารเคมี ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
               โครงการประกันรายได้เกษตรกร
                 
    เป็นโครงการที่สร้างความมั่นคงของรายได้ให้กับเกษตรกร โดยเป็นหลักประกันรายได้ขั้นต่ำในการประกอบ
อาชีพการเกษตร สร้างความมั่นคงด้านอาหาร รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและเป็นการแทนนโยบายแทรกแซง
ระดับราคาสินค้าเกษตร/โครงการรับจำนำสินค้าเกษตร
                      เพื่อลดภาระงบประมาณในการรับซื้อผลผลิตและจัดเก็บ/บริหารสต๊อกสินค้า รวมทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับ
ประโยชน์รวมถึงเกษตรกรที่ผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
                      โดยเริ่มต้นที่พืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง

หลักการของโครงการประกันรายได้เกษตรกร

                    

                        

 

คุณสมบัติของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ
            
เป็นเกษตรกรไทยที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร และขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และได้รับใบรับรองผลการขึ้นทะเบียนการปลูก ข้าวนาปี
มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

      การกำหนดราคาประกัน

ประเภทผลผลิต

ราคาที่ประกัน

จำนวนผลผลิตที่รับประกัน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

กิโลกรัมละ 7.10 บาท

ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ตัน

มันสำปะหลัง

กิโลกรัมละ 1.70 บาท

ครัวเรือนละไม่เกิน 100 ตัน

ข้าวเปลือก

  - ข้าวเปลือกหอมมะลิ

ตันละ 15,300 บาท

ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน

  - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด

ตันละ 14,300 บาท

ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

  - ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี

ตันละ 10,000 บาท

ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน

  - ข้าวเปลือกเจ้า

ตันละ 10,000 บาท

ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน

  - ข้าวเปลือกเหนียว
ตันละ  9,500  บาท
ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ

การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
             
ผู้ปลูก ข้าวนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์   ต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และทะเบียนผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด กับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล ที่เกษตรมีภูมิลำเนาอยู่ หรือพื้นที่ที่ทำการผลิต
โดยนำหลักฐาน ได้แก่ บัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านไปขอขึ้นทะเบียน

การประชาคม
            
คณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบลจะดำเนินการประชาคมเพื่อตรวจสอบพื้นที่ทำการผลิตและการยืนยันการผลิต
ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้เกษตรอำเภอ ออกใบรับรองผลการขึ้นทะเบียนผู้ปลูก

การติดต่อทำสัญญาประกันรายได้ กับ ธ.ก.ส.
            
ให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกและผ่านการประชาคมแล้ว นำ ใบรับรองผลการขึ้นทะเบียนผู้ปลูก ที่กรมส่งเสริมการเกษตรออกให้ พร้อม บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สมุดบัญชีเงินกู้ ( กรณีเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.) และ สมุดบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส. มาแสดงเพื่อ ทำสัญญาประกันรายได้ ที่ ธ.ก.ส. สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. ขอให้เปิดบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. ก่อน

การประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง
            
คณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงจะ ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และข้าวเปลือก ให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการทราบ ในวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน

การขายผลผลิตที่เข้าร่วมโครงการ
          เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำผลผลิตของตนไปขายให้กับบุคคลใด ที่ไหน และเมื่อไรก็ได้ ที่เห็นว่า
ราคาเป็นที่พึงพอใจ

การยกเลิกสัญญาประกันราคาผลิตผลการเกษตร
          ธ.ก.ส. สามารถ ยกเลิกสัญญา ประกันราคาผลิตผลการเกษตรกับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการได้ เมื่อพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการไม่ได้ทำการผลิตการเกษตรจริง ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้

 คำจำกัดความที่ควรทราบ
         ราคาประกัน   คือ ราคาผลิตผลการเกษตร ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และข้าวเปลือกที่รัฐบาล
ประกาศประกันราคาให้กับเกษตรกรผู้ผลิต

        เกณฑ์กลางอ้างอิง   คือ ราคาผลิตผลการเกษตร ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และข้าวเปลือก
ที่คณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงประกาศเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณเงินชดเชย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

        ราคาตลาด   คือ ราคาผลิตผลการเกษตร ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และข้าวเปลือกที่เกษตรกร
ขายได้จริง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

การรับเงินชดเชยส่วนต่างราคา
           
ถ้าราคาตลาดอ้างอิงต่ำกว่าราคาประกันที่กำหนด ณ วันใช้สิทธิ์ที่ระบุไว้ตามสัญญาประกันราคา เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินชดเชยส่วนต่างราคา โดย ธ.ก.ส. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับ ธ.ก.ส.

เงินชดเชยที่ได้รับ = ( ราคาประกัน – ราคาตลาดอ้างอิง) x ปริมาณผลผลิตที่เข้าร่วมโครงการ

การรับเงินประกันรายได้
           
เกณฑ์กลางอ้างอิงต่ำกว่าราคาประกันรายได้ที่กำหนด ณ วันใช้สิทธิที่ระบุไว้ตามสัญญาประกันรายได้ เกษตรกร
ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินประกันรายได้ ซึ่งคิดจากส่วนต่างของราคาประกัน และเกณฑ์กลางอ้างอิง  โดย ธ.ก.ส.
จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับธ.ก.ส.
การขายผลผลิตที่เข้าร่วมโครงการ
          
เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องส่งมอบผลผลิตให้โครงการ   โดยสามารถนำผลผลิตของตนไปขายได้ ถ้าเห็นว่าราคาเป็นที่พึงพอใจ

ราคาที่เกษตรกรขายได้ ที่ไร่ - นา รายเดือนและสัปดาห์ ปี 2552 ทั่วประเทศ  
หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการ โครงการประกันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2552/53  
หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการ โครงการประกันราคามันสำปะหลัง ปี 2552/53  
    มติคณะรัฐมนตรี  
การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รอบที่ 1
การใช้สิทธิประกันรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 
แก้ไขคู่มือการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รอบที่ 1 (แก้ไข)
การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รอบที่ 2
ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2552/53
โครงการขึ้นทะเบียนและสำรวจผลผลิตต่อไรของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลุกข้าว ปี 2552/53 รอบที่ 2
การแก้ไขข้อมูลทะเบียนเกษตรกรดำเนินการทำสัญญาประกันรายได้ ขยายระยะเวลาการออกหนังสือรับรองเกษตรกรและ
การกำหนดปริมาณข้าวเปลือกโครงการประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลุกข้าว ปี 2552/53 รอบที่ 2

การแก้ไขป้ญหาการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (รอบที่ 1) เพิ่มเติมและการกำหนดหลักเกณฑ์
และขั้นตอนการประกันรายได้ผู้ปลูกข้าว (รอบที่ 2)

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของข้าวแต่ละชนิด รายจังหวัดและการกำหนดพันธุ์ข้าวที่ทางราชการรับรองโครงการประกันรายได้
เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 รอบที่ 2
จัดทำข้อมูล  :  สราวุฒิ
รายงาน  :  ภัทรลภา
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2553

.