สรุปผลการติดตามวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมและพัฒนา
กลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ จังหวัดระยอง จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดฉะเชิงเทรา

ระหว่างวันที่ 17-23 กันยายน 2552
----------------------------

        1. สถานการณ์การดำเนินงานโครงการส่งเสริมพืชพลังงานแทน (สบู่ดำ) ภาคตะวันออก ปี 2552
           
1.) สำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันออก ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ รวม 20 กลุ่ม
ได้แก่ จังหวัดระยอง 5 กลุ่ม จังหวัดฉะเชิงเทรา 5 กลุ่ม และจังหวัดสระแก้ว 10 กลุ่ม สมาชิกรวม 400 คน
( เกษตรกรสมาชิกกลุ่มละ 20 คน )
            2.) กลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำได้ดำเนินการการจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตสบู่ดำ รวมจำนวน 20 แปลง
(กลุ่มละ 1 แปลงๆ ละ 1 ไร่ มีบางกลุ่มปลูกมากกว่า 1 ไร่ )
            3.) จังหวัดได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรสมาชิกกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ ทุกกลุ่ม รวม 400 คน

       
        2. สถานการณ์การดำเนินงานของกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ
           
1.) การบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบของคณะกรรมการ ยังไม่มีความชัดเจนนัก เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ
ในกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ มีน้อย เป็นการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้เท่านั้น
            2.) เกษตรกรผู้รับผิดชอบจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตสบู่ดำ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรผู้นำในชุมชน ที่มีความสนใจมาก
            3.) การปลูกต้นสบู่ดำในแปลงเรียนรู้ของกลุ่ม ส่วนใหญ่ดำเนินการปลูกแล้ว มีส่วนน้อยบางกลุ่มที่ยังไม่ได้ปลูก
แต่ได้รับต้นพันธุ์สบู่ดำสำหรับเตรียมปลูกแล้ว แปลงเรียนรู้ที่มีการปลูกต้นสบู่ดำแล้ว การเจริญเติบโตของต้นสบู่ดำในแปลง
มีการเจริญเติบโตดี อยู่ในช่วงการตัดแต่งครั้งที่ 1 ยังไม่มีผลผลิต
                ข้อสังเกต   เกษตรกรสมาชิกกลุ่มต้นแบบส่วนใหญ่ยังไม่มีการเข้าไปเรียนรู้ในแปลงเรียนรู้ และไม่มีการกำหนด
แผนการเรียนรู้ ในการจัดการต้นสบู่ดำ ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาของการเจริญเติบโต ของต้นสบู่ดำ
            4 .) การขยายผลการปลูกต้นสบู่ดำ แก่สมาชิกภายในกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ มีเกษตรกรสมาชิกบางส่วน
แต่เป็นส่วนน้อย ที่นำต้นสบู่ดำไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง ลักษณะการปลูกจะเป็นหัวไร่ปลายนาเป็นริมรั้ว เป็นส่วนใหญ่
และไม่มีการดูแลให้ความสนใจมากนัก

       
        3. ความรู้ในการปลูกสบู่ดำของเกษตรกรสมาชิกกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ
่          
เกษตรกรสมาชิกกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำส่วนใหญ่มีความรู้พอสมควรในการปลูกต้นสบู่ดำ  เนื่องจากได้รับ
การอบรมและดูงานแล้ว และมีความเห็นว่าสามารถปลูกและดูแลรักษาได้ไม่ยาก ถ้าหากให้ความสนใจ  เนื่องจากเป็นพืช
ที่ปลูกง่าย แต่ที่ยังไม่ให้ความสนใจ เพราะจากการดูงานคิดว่าคงมีปัญหาในเรื่องของแรงงานตัดแต่งกิ่ง การเก็บผลผลิต
การขาดเครื่องกะเทาะเปลือกและหีบสกัดน้ำมันที่ยังมีราคา แพงมาก และการตลาดที่ยังไม่มีการรับซื้อทั่วไป

       
         4. ปัญหาอุปสรรค
           
1.) ความสนใจของเกษตรกรมีน้อย เนื่องจากเดิมเกษตรกรมีการปลูกทิ้งขว้างในลักษณะการปลูก แบบหัวไร่
ปลายนาและริมรั้ว ผลผลิตที่ได้จะต่ำมาก ไม่สามารถเก็บมาขายได้มากพอที่จะปลูกเป็นอาชีพได้และในสถานการณ์
ราคาน้ำมันปัจจุบันเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิตสบู่ดำมาสกัดเป็นน้ำมันที่ได้ ต้นทุน ยังสูงกว่าน้ำมันดีเซล รายได้
ยังไม่คุ้มค่ากับต้นทุนและค่าจ้างแรงงาน
            2.) เกษตรกรมีการปลูกพืชทางเลือกอื่นๆ ที่ปลูกแล้วสามารถเป็นอาชีพได้ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง
สับปะรด ฯลฯ
            3.) การตลาดของสบู่ดำ ยังไม่มีแนวทางและตลาดที่ชัดเจนทำให้เกษตรกรขาดความมั่นใจ
            4.) การขาดเครื่องกะเทาะเปลือกและหีบสกัดน้ำมันสบู่ดำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันยังมีราคาสูงอยู่ การดำเนินงาน
ที่ผ่านมามีเกษตรกรเคยปลูกสบู่ดำแล้ว แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตสบู่ดำ ได้เลย เนื่องจากขาดเครื่องกะเทาะ
เปลือกและหีบสกัดน้ำมันสบู่ดำ จึงทิ้งรกร้างหรือล้มเลิกการปลูกไป
                ข้อคิดเห็น   จากเกษตรกรสมาชิกกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ มีความคิดเห็นว่าเครื่องกะเทาะเปลือกและหีบสกัด
น้ำมันสบู่ดำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด สำหรับการตัดสินใจปลูกสบู่ดำของเกษตรกร และส่งเสริมให้โครงการส่งเสริมพืชพลังงาน
ทดแทนด้วยสบู่ดำ ประสบผลสำเร็จผลในระดับชุมชน

       
         5. แนวทางส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตสบู่ดำ
           
1.) ภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและสนับสนุนงบประมาณเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร
และมีการศึกษาดูงาน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้ความรู้และเห็นผลสำเร็จจริงจากผู้ประสบผลสำเร็จในการปลูกสบู่ดำ
เกิดความมั่นใจและกระตุ้นแนวคิดในการปลูกสบู่ดำและรวมกลุ่มพึ่งพาตนเอง
            2.) กำหนดแนวทางให้ชัดเจนในการส่งเสริมการรวมกลุ่มปลูกสบู่ดำเพื่อเป็นพืชเสริมแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นหมู่บ้านพลังงานทดแทน ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลใช้ในชุมชนก่อนเบื้องต้น แล้วจึงค่อย ๆ ขยายผลออกไปในภายหลัง
เพื่อให้เกษตรกรมองเห็นอนาคตและตลาดการใช้น้ำมันสบู่ดำอยู่ที่ชุมชนของตนเอง และช่วยในการลดต้นทุนการผลิต
เมื่อใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้น้ำมันดีเซลในไร่นาของตนเอง เช่น เครื่องสูบน้ำ รถไถนาเดินตาม รถบรรทุกพืชผล ฯลฯ
            3.) สนับสนุนการจัดหาเครื่องกะเทาะเปลือกและหีบสกัดน้ำมันสบู่ดำ ให้แก่กลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ ที่สมาชิก
มีความร่วมมือกันดี และมีความเข้มแข็ง มีการกำหนดแนวทางและแผนงานที่ชัดเจน ในการส่งเสริมโดยการกระจาย
การปลูกสบู่ดำให้แก่สมาชิกภายในกลุ่มหรือชุมชนอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถรวบรวมนำผลผลิตสบู่ดำจากสมาชิกกลุ่ม
มาหีบสกัดน้ำมันสบู่ดำใช้ประโยชน์ภายในกลุ่มและชุมชนได้
             ข้อคิดเห็น
จากเกษตรกรสมาชิกกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ มีความคิดเห็นต่อแนวทางการสบสนุนการจัดหา
เครื่องกะเทาะเปลือกและหีบสกัดน้ำมันสบู่ดำ ดังนี้

                    -  ของบประมาณจากโครงการจังหวัด สนับสนุนเป็นกลุ่มนำร่อง และติดตามส่งเสริมให้เห็นผลสำเร็จ
เป็นตัวอย่างแก่กลุ่มหรือชุมชนอื่นๆ
                     -  ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ที่มีกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำกำหนดเป็น
แนวทางส่งเสริมพืชพลังงานทดแทนในแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล และเขียนโครงการของบประมาณ
จากหน่วยราชการส่วนท้องถิ่น
                     -  กลุ่มเกษตรกรหรือชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ระดมหุ้นจากสมาชิกและชุมชนมาดำเนิน การจัดซื้อเอง
เพื่อการพึ่งพาตนเอง

        4.) ส่งเสริมการปลูกสบู่ดำในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงทั้งชุมชน(หมู่บ้านหรือตำบล) เช่นกำหนดให้เป็นหมู่บ้าน
ต้นแบบพลังงานทดแทน
         5.) อบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรให้มีความรู้ ในการเพิ่มผลผลิตสบู่ดำ ด้วยการดูแลบำรุงรักษาและเทคนิค
การตัดแต่งกิ่งสบู่ดำอย่างถูกวิธี เพื่อบังคับให้ผลผลิตออกพร้อมกันช่วยลดแรงงานในการเก็บเกี่ยว
         6.) ส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มต้นแบบการผลิตสบู่ดำ มีการเรียนรู้ในแปลงเรียนรู้สบู่ดำ โดยการจัดทำแผนการเรียนรู้
ในการจัดการต้นสบู่ดำ ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาของการเจริญเติบโตของต้นสบู่ดำ อย่างเป็นขั้นตอน
         7.) หน่วยราชการส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญและร่วมดำเนินการ ในการรับซื้อ การแปรรูปและการตลาด
ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์หลังจากการแปรรูปเป็นน้ำมันไบโอดีเซลแล้ว

        8.) ส่งเสริมให้มีการปลูกสบู่ดำในลักษณะเป็นพืชแซมในแปลงพืชไร่ พืชผัก หรือส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกร
ทำกิจกรรมเสริมในพื้นที่ปลูกสบู่ดำ เช่นการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย การปลูกพืชสมุนไพรเชิงการค้า เพื่อให้เกษตรกรมี
รายได้ที่แน่นอนจากพื้นที่ที่ปลูกสบู่ดำ
        9.) ภาครัฐส่งเสริมการวิจัย พัฒนาอุปกรณ์กะเทาะเปลือกและหัวสกัดน้ำมันให้มีประสิทธิภาพและมีราคาที่ถูกลง
       10.) ภาครัฐส่งเสริมการวิจัยการใช้ประโยชน์จากสบู่ดำให้ครบวงจรทุกส่วนของต้นสบู่ดำ นอกเหนือ
จากการนำผลผลิตมาหีบสกัดน้ำมันสบู่ดำมาใช้อย่างเดียว เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มต้นทุนและแรงงาน

 

                                                              ผู้ติดตามและวิเคราะห์ข้อมูล

                                                             …………………………………..
                                                                  (นายมนตรี กล้าขาย)
                                                     ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต

 

                      …………………………………                                           …..……………………………
                      (นายชนินทร์ สุขสำราญ)                                              (นางสาวรังรอง วงศ์เดช)
                   นักวิชาการเกษตรชำนาญการ                                          นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ