สรุปการศึกษาวิเคราะห์ถอดองค์ความรู้วิธีการปฏิบัติการลดต้นทุน
การผลิตข้าว แปลงเรียนรู้ของเกษตรกร

(จากกรณีตัวอย่าง)

        1. การปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรมีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้
               -  การไม่เผาฟางข้าวและตอซัง
               -  ไถกลบหมักฟางข้าว
               - ทำน้ำหมักชีวภาพ ช่วยในการย่อยสลายฟางข้าวที่ไถกลบ มีสูตรการปฏิบัติ ดังนี้
1) สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพ ใช้เศษพืช เศษอาหารทุกชนิด + กากน้ำตาล อัตรา 3 : 1 + สารเร่ง พด. 2
2) สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพ ใช้หน่อกล้วย หอยเชอรี่ ปลา + กากน้ำตาล อัตรา 3 : 1 + สารเร่งพด.2 ซุปเปอร์
3) สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพ ใช้เศษปลา กล้วย พืชผักต่างๆ หอยเชอรี่ + กากน้ำตาล อัตรา 3 : 1 + จุลินทรีย์ พด. 2 เวลาการหมักอย่างน้อย 15 วัน)

              -  มีการพักดินและปลูกพืชตระกูลถั่ว ช่วงพักดิน
              -  มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าวระยะต่าง ๆ มีสูตรการปฏิบัติผสมปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ใช้เองและจำหน่ายของเกษตรกร ดังนี้

             สูตรการทำ 1 ครั้ง / 5 กระสอบ ( 250 กก. ) มีอัตราส่วนวัสดุและปุ๋ยเคมี ดังนี้

1. เปลือกยูคาลิปตัสป่นหมัก 3 กระสอบ (กระสอบละ 100 บาท)
2. ปุ๋ยขี้ไก่ตากแดดและบดละเอียด 40 กก. (กก.ละ 5 บาท)
3. สารซิลิคอน 25 กก. (กก.ละ 6 บาท)
4. โดโลโมท์ 37 กก. ( 25 กก./40 บาท)
5. ปุ๋ยขี้ค้างคาว 10 กก. (กก.ละ 40 บาท)
6. น้ำหมักชีวภาพ (ใช้ในขั้นตอนปั้นเม็ดปุ๋ย) (ต้นทุน 20 บาท)
7. ปุ๋ยยูเรีย 30 กก. (กก.ละ 12 บาท)

              -  มีการเลี้ยงโค กระบือควบคู่กันไปเพื่อใช้ปุ๋ยคอกบำรุงดินในนาข้าวช่วยลดการซื้อปุ๋ยคอกลง

        2. การจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าว
             
- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวตามอัตราที่กำหนด 2-2 ? ถัง/ไร่ (20-25 กก./ไร่)
              - เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเอง โดยมีการกำหนดแปลงปลูกสำหรับการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว และมี
ีการแลกเปลี่ยนหรือซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวในราคาที่ถูก ระหว่างเกษตรกรด้วยกันเอง
                  * ข้อเสนอแนะในการส่งเสริม : เกษตรกรยังไม่ให้ความสำคัญและขาดความรู้ในการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว
และกระบวนการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกต้อง ควรมีการจัดอบรมแก่เกษตรกร/เจ้าหน้าที่ ในด้านการทำแปลงและ
การจัดการแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว

        3. การบริหารจัดการศัตรูพืช
             
- ใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ด้วยหลักการของ IPM   ได้แก่   1) การทำต้นข้าวให้แข็งแรงด้วยการใช้
้เมล็ดพันธุ์ข้าวตามอัตราและใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และมาจากแหล่ง ที่เชื่อถือได้
2) มีการสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ   3) มีการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ   4) เกษตรกรมีความชำนาญสามารถตัดสินใจ
ได้ถูกต้อง ในการใช้สารชีวภัณฑ์หรือสารเคมีที่เหมาะสมและจำเป็นเท่านั้น)
             - มีการใช้พืชสมุนไพร หมักฉีดพ่นไล่แมลงศัตรูข้าว
                * ข้อเสนอแนะในการส่งเสริม : ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และมีการสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้เกษตรกรรู้จักโรค แมลงศัตรูพืช และแมลงศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และ
มีการใช้สารชีวภัณฑ์

        4. การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
            
- เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง
             - เกษตรกรใช้ปุ๋ยตามประสบการณ์ความชำนาญโดยสังเกตจากสีใบข้าวและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
แล้วจึงให้ปุ๋ยเคมี
               * ข้อเสนอแนะในการส่งเสริม : ส่งเสริมและให้คำแนะนำความรู้ ข้อดี ของการวิเคราะห์ค่าดิน
การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกษตรกรเห็นความสำคัญ ควรมีการจัดทำคู่มือการคำนวณสูตรปุ๋ยต่าง ๆ อย่างง่ายแก่เกษตรกร เพื่อที่หลังจากรู้ค่าวิเคราะห์ดินแล้ว เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติการเลือกใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและ
ไม่ยุ่งยาก

        5. การถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกเครือข่าย
            
-  ใช้ระบบโรงเรียนเกษตรกร เรียนรู้ในแปลงนาข้าวโดยตรง
             -  ครูติดแผ่นดินข้าวและเกษตรกรสมาชิกเครือข่าย นิยมใช้วิธีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ความคิดเห็น ความรู้ ร่วมกัน หาทางแก้ไขและพัฒนาความรู้ร่วมกัน
             -  เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมการจัดเวทีการประชุมที่เป็นทางการเพราะรู้สึกเหมือนถูกบังคับ และเป็นการแบ่งแยก
เหมือนเป็นเจ้านายกับลูกน้อง
             * ข้อเสนอแนะ : ควรมีการพัฒนาเทคนิคการพูด การบรรยาย การเป็นวิทยากรให้แก่ครู ติดแผ่นดินข้าว
และเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติการลดต้นทุนการผลิตข้าว เพื่อเป็นแกนนำขยายเครือข่ายต่อไป

        6. การขยายผล
            
  -  มีการรณรงค์โดยภาครัฐและส่วนท้องถิ่นให้เกษตรกรเกิดการตื่นตัวและเห็นความสำคัญในการลดต้นทุน
การผลิตข้าว และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
              -  การสร้างเครือข่ายต้องมีการคัดเลือกพื้นที่และเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายโดยครูติดแผ่นดินข้าวเป็นผู้คัดเลือกเอง
มีหลักการคัดเลือกได้แก่ 1) เกษตรกรมีพื้นที่นาใกล้เคียงกันสามารถดูแลให้คำแนะนำได้ทั่วถึง 2) เกษตรกรเป็นสมาชิก
ศูนย์ข้าวชุมชน 3) เป็นเกษตรกรที่รู้จักคุ้นเคยกัน สามารถพูดคุยได้ง่าย 4) เป็นเกษตรกรที่มีแนวความคิดไม่เผาฟางข้าวและตอซัง

             -  ขยายผลในศูนย์ข้าวชุมชนทุกศูนย์ เพราะมีสมาชิกที่คุ้นเคยและเป็นกลุ่มเดิมอยู่แล้ว
             -  พัฒนาการเป็นวิทยากร เช่น เทคนิคการพูดให้แก่เกษตรกรสมาชิกเครือข่ายที่มีความรู้และปฏิบัติการลดต้นทุน
การผลิตข้าวในแปลงนาประสบผลสำเร็จ เพื่อให้ไปถ่ายทอดต่อ แก่เกษตรกรขยายผลอย่างมีขั้นตอนและหลักการ
             -  สร้างกลไกการรวมกลุ่ม (โดยภาครัฐ) และมีการเชื่อมโยงกับโครงการอื่น ๆ อย่างจริงจัง เช่น GAP ข้าว
การจัดทำแปลงพยากรณ์ข้าว การป้องกันกำจัดศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน
             -  ส่งเสริมให้มีการประสานงานกับส่วนท้องถิ่น ให้เห็นความสำคัญ และสนับสนุนโครงการงบประมาณจัดซื้อ
อุปกรณ์เครื่องมือ เช่น เครื่องวิเคราะห์ค่าดิน โครงการเลี้ยงโค กระบือ โครงการส่งเสริมกรใช้สารชีวภัณฑ์ เป็นต้น

             -  มีการปรับปรุงหลักวิชาการ ให้เป็นเทคนิควิธีการที่ง่ายต่อการเข้าใจและการนำไปปฏิบัติ เช่น
การคำนวณสูตรปุ๋ยผสมเอง หลักจากการทราบค่าวิเคราะห์ดินแล้ว จะทำให้ง่ายต่อการส่งเสริมขยายผล
             -  ส่งเสริมกิจกรรมพึ่งตนเองในกลุ่มเครือข่ายของสมาชิกเกษตรกร เช่น ให้มีการหมุนเวียนแรงงานในกลุ่ม ให้มีการร่วมกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ส่งเสริมการจัดทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวและให้เกษตรกรสมาชิกแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวกันเอง ส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุและอุปกรณ์ร่วมกันในกลุ่ม
             -  มีการคัดเลือกสมาชิกหรือเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการลดต้นทุนการผลิตข้าว ให้เป็นแกนนำเพิ่มขึ้น
สำหรับการขยายผลการเรียนรู้