การจัดการความรู้
(Knowledge Management : KM)

การจัดการความรู้คืออะไร ?
              การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management   เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่
ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นพบว่าองค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆ กับการที่บุคลากรลาออก
หรือเกษียณ อายุราชการ อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง   ดังนั้น
จากแนวคิดที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้มากแต่เพียงอย่างเดียว จึงเปลี่ยนไปและมีคำถาม
ต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรได้เรียนรู้ด้วย ดังนั้น  การบริหารจัดการความรู้จึงสัมพันธ์กับ
เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization ) เป็นอย่างยิ่งหากองค์กรจะ
พัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กร
ให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่องหากองค์กรใด มีการจัดการ
ความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร  ก็นับเป็นการลงทุน
ที่สูญเปล่าได้เช่นกัน  อย่างไรก็ตาม  การบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่า
การพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจาก
ที่บุคลากรมีความรู้ความชำนาญแล้ว องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด
และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บ
ความรู้เฉพาะไว้กับองค์กรอย่างมีระบบ  เพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   การจัดการความรู้ ( Knowledge Management : KM )
              การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัด
กระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถ
เข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผล
ให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
 

            1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน ( Tacit Knowledge ) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่
ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย  เช่น ทักษะใน
การทำงานงานฝีมือ หรือ  การคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง  จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
            2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม
ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และ
บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

        การจัดการความรู้เป็น เครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ
ไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
           1. บรรลุเป้าหมายของงาน
           2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
           3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
           4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

 
            การจัดการความรู้ ต้องการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการ ต่อความรู้ ได้แก่
          (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
          (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
          (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
          (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
          (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และสกัด “ ขุมความรู้ ” ออกมาบันทึกไว้
          (6) การจดบันทึก “ ขุมความรู้ ” และ “ แก่นความรู้ ” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุง
เป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน  ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
 
              
               โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
เป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป
(Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน
ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ 
ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ)  การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกัน
ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “ จัดการความรู้ ” จึงมีคนเข้าใจผิด
เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้  นี่คือ ความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก
การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงาน
ที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ที่เรียกว่า 
Operation Effectiveness และนิยาม  ผลสัมฤทธิ์  ออกเป็น 4 ส่วน คือ
           (1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการ
ของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการ
ของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
           (2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรม
ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
           (3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น
ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ
           (4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่
ลงไปการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมาก
หรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการ
ความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้
จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา  โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน
เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน
และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้
แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรม
ของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย
 
ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
คน
พัฒนาคน
งาน พัฒนางาน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้
                 
              ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง
นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการ
ความรู้ เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาด ก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมา คือ การจัดการ
ความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่ม
ดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูก
ทิศทาง ถูกวิธีก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญ
คือ แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้
 
             องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ ( Knowledge Process )
           1. “ คน ”
ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำ
ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
           2.“ เทคโนโลยี ” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน
รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
           3. “ กระบวนการความรู้ ” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่ง
ความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
 
                 องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล โดยต้องรับรู้
ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ
ราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนา
ความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็น
บุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน
                 ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ
ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ ( KM Process ) และกิจกรรมกระบวนการ
เปลี่ยนแปลง ( Change Management Process ) ควบคู่กันไปโดยมีความคาดหวังว่าแผนการ
จัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM
 
                                     การจัดการความรู้ที่ดีต้องเริ่มด้วย
           สัมมาทิฐิ  :  ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคง
ในระยะยาว การจัดที่ริเริ่มดำเนินการ การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง ดำเนินการต่อเนื่อง
และ การจัดการระบบการจัดการความรู้
           แรงจูงใจ  :  ในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการ
จัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว
เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำ
ไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด
แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ
               “ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้เชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับ
ตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ
จัดการความรู้อย่างแท้จริง ”
 
ภาษิต คำคม  KM
 
Knowledge resides in the users and not in the collection.
ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้

(Y. Maholtra)

KM is a Journey, not a destination.
การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง
(Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai)

A little knowledge that acts is worth more than much
knowledge that is idle.
ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ
(Kahlil Gibran)

Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private.
ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็น
สินทรัพย์ส่วนบุคคล

Knowledge is not what you know, but is what you do.
ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ

Successful knowledge transfer involes neither computers
nor documentsbut rather interactions between people.
การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือ
เอกสารแต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน

(Mason & Mitroff, 1973)

Shift from error avoidance to error detection and correction
จงเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไปสู่การค้นหาความผิดพลาด
และแก้ไขกระบวนการจัดการความรู้

( Knowledge Management Process)